THE FORMER NARA PRISON

THE FORMER NARA PRISON

ประวัติศาสตร์

จากอดีตถึงปัจจุบันของเรือนจำเก่านาราตัวแทนความเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย

เรือนจำเก่านาราถือกำเนิดขึ้นในค.ศ. 1908 (ปีเมจิที่ 41) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคสมัยใหม่ของทัณฑสถาน เนื่องจากคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนี้ ทำให้เรือนจำเก่านาราซึ่งถูกใช้เป็นสถานกักกันนักโทษมาเป็นเวลานานกว่า 100 ปี ได้รับการจดบันทึกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น สถานที่แห่งนี้กำลังจะถูกชุบชีวิตใหม่ให้กลายเป็นโรงแรมอีกด้วย เรามาย้อนประวัติของเรือนจำเก่านาราที่ก้าวเดินควบคู่กับประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่นกันเถอะ

ตามรอยเรือนจำเก่านาราตามลำดับปี
สีดำ : เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โลกและญี่ปุ่น 
สีแดง : เหตุการณ์ของเรือนจำเก่านารา

1613 "ที่ว่าการบุเกียวโฉะนารา (นันโตโจบุเกียว) ก่อตั้งในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสตรีนาราในปัจจุบัน
บริเวณที่คุมขังนักโทษตั้งอยู่ที่คิตะอุโอะยะนิชิมะจิและฮะนะชิบะโจทางทิศเหนือของที่ว่าการ"
1853 เรือรบของนายพลเพอร์รี่เดินทางมาถึงญี่ปุ่น
1854 ญี่ปุ่นและอเมริกาลงนามสนธิสัญญามิตรภาพ
สิ้นสุดการปิดประเทศ ญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่สังคมโลก
1858 ญี่ปุ่นและอเมริกาลงนามสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (สนธิสัญญาสงบศึก 5 ประเทศ)
เป็นสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น ญี่ปุ่นต้องยอมรับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของอเมริกา อีกทั้งยังไม่มีสิทธิในการกำหนดภาษีศุลกากรอีกด้วย
1867 คืนอำนาจการปกครองประเทศคืนแก่จักรพรรดิ รัฐบาลบากุฟุล่มสลาย
นายยะมะชิตะ เคจิโร่ เกิด
 
1868 รัฐบาลเมจิเริ่มบริหารประเทศ
1869 ย้ายเมืองหลวงมาโตเกียว
1870 ประกาศใช้กฎหมายอาญาชินริทสึโคเรียวแทนกฎหมายอาญาฉบับทดลอง
1871 สถาปนากระทรวงตุลาการ
ย้ายส่วนหนึ่งของอาคารที่คุมขังของที่ว่าการบุเกียวโฉะนาราไปสร้างใหม่
ปัจจุบันได้รับการบันทึกให้เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางตุลาการของประเทศ
“สำนักงานเรือนจำนารา” ตั้งขึ้นที่เมืองนาราย่านนิชิซะซะโบะโจ
1872 ประกาศพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง
1875 เริ่มกระบวนการปรับแก้กฎหมายอาญาเก่า เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมายให้เข้าสู่ยุคสมัยใหม่
1880 สวนสาธารณะนาราที่โด่งดังเรื่องกวางเปิดให้บริการ
1881 เปลี่ยนชื่อ “สำนักงานเรือนจำนารา” เป็น “สำนักงานย่อยเรือนจำนารา”
1882 ประกาศใช้กฎหมายอาญาฉบับเก่าทั่วไปแทนกฎหมายอาญาชินริทสึโคเรียว
1885 ยกเลิกระบบสภาอำมาตย์ สถาปนาระบบคณะรัฐมนตรี
1887 นายมิยะจิ เรียวอิจิ เข้ารับตำแหน่งเท็งโกะคุ (หัวหน้าเรือนจำ) รุ่นแรก (ถึงปีเมจิที่ 26)
1889 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิญี่ปุ่น
1894 "สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ปะทุขึ้น
ฟื้นฟูสิทธิสภาพนอกอาณาเขต"
1895 สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง
1896 จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นเป็นครั้งแรก (กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ)
1900 ก่อตั้งกรมราชทัณฑ์
1901 แผนพัฒนาปรับปรุงเรือนจำช่วงที่ 1 ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มก่อสร้าง “เรือนจำนารา” บนพื้นที่ปัจจุบัน
นายยะมะชิตะ เคจิโร่ได้รับคำสั่งให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานเรือนจำ
1904 สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นปะทุขึ้น
1905 สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นสิ้นสุดลง
1908 ประกาศใช้กฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันแทนกฎหมายอาญาฉบับเก่า
ประกาศใช้กฎหมายราชฑัณฑ์
1908 “เรือนจำนารา” ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ (ย่านฮันเนียจิโจ)
1909 “เรือนจำนารา” เริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่อาคารใหม่
1910 ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีจำนวนนักโทษมากถึง 935 รายแม้จำนวนที่นักโทษที่สามารถรองรับได้ (ในขณะนั้น) จะเพียง 650 ราย แบบจำลองเรือนจำนาราได้รับเลือกให้ไปแสดงในนิทรรศการนานาชาติญี่ปุ่น-อังกฤษ เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคสมัยใหม่ของเรือนจำญี่ปุ่นสู่สายตาผู้คนทั้งในและนอกประเทศ
1912 Meiji 44 / The first year of Taisho
ก่อสร้าง “อาคารโรงงาน” และ “โรงครัว” เพิ่มเติม
1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้น
1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง
ก่อสร้าง “อาคารโรงงาน 2” และ “ศูนย์การเรียนรู้” เพิ่มเติม
1922 ประกาศใช้กฎหมายเยาวชน
1922 เปลี่ยนชื่อ “เรือนจำนารา” เป็น “ทัณฑสถานนารา”
1923 เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ภูมิภาคคันโต
สร้าง “โกดัง” เพิ่มเติม
1926 Taisho 15 / The first year of Showa
1931 เกิดข้อพิพาทกรณีมุกเดน
นายยะมะชิตะ เคจิโร่ เสียชีวิต
1934 "ก่อสร้าง “ห้องสัมภาษณ์” (ห้องเยี่ยม) เพิ่มเติม
เรือนจำได้รับความเสียหายครั้งใหญ่จากพายุไต้ฝุ่นเวร่า สถานที่ต่างๆ เช่น ลานแสดงดนตรี ได้รับความเสียหายพังถล่ม"
1936 กบฏ 26 กุมภาฯ
ก่อสร้าง “ลานแสดงดนตรี” ขึ้นใหม่
1941 สงครามโลกครั้งที่ 2 เปิดฉาก
1945 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง
1946 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น
1946 เปลี่ยนชื่อ “ทัณฑสถานนารา” เป็น “สถานพินิจและคุ้มครองเยาวชนนารา”
1948 ประกาศใช้กฎหมายเยาวชนฉบับใหม่
1949 ประกาศใช้กฎหมายสร้างชีวิตใหม่ให้นักโทษและป้องกันการก่ออาชญากรรมซ้ำ
"เริ่มจัดการศึกษาภาคค่ำ
เริ่มจัดการศึกษาทางไกลเพื่อเรียนรู้สังคม"
1951 ก่อตั้ง “ชมรมวงโยธวาทิต” เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้น “การบำบัดอย่างปลดปล่อย” ซึ่งเป็นรากฐานที่ทำให้ผู้กระทำผิดมีความเชื่อมั่นต่อจิตวิญญาณในการพึ่งพาตนเองและความรับผิดชอบ
1954 เริ่มหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายทางไกลโดยโรงเรียนมัธยมปลายนาราประจำจังหวัดนารา (ปัจจุบัน : หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายทางไกลโดยโรงเรียนมัธยมปลายยะมะโตะจูโอประจำจังหวัดนารา)
เริ่มกิจการ “ศูนย์อบรมช่างตัดแต่งทรงผมวะคะคุตสะ” และหลักสูตรอบรมอาชีพ (แผนกศึกษาการตัดแต่งทรงผม)
1960 เริ่ม “สมาคมผู้ปกครอง” มีผู้ปกครองเข้าร่วม 1998 รายต่อจำนวนผู้กระทำผิด 682 รายในขณะนั้น
1964 โตเกียวโอลิมปิก
1964 ได้รับเลือกให้เป็นหน่วยงานฝึกอบรมอาชีพทั่วไป
1965 ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 24
1970 นิทรรศการนานาชาติโอซาก้า (โอซาก้าเวิล์ดเอ็กซ์โป)
1972 ซัปโปโรโอลิมปิก
1976 ถ่ายทำภาพยนตร์โปรโมท “หนทางสู่ชีวิตใหม่” (จิตใจของผู้กระทำผิดเยาวชน) เสร็จสมบูรณ์
1977 กำหนดข้อควรปฏิบัติบริการรับฟังและให้คำปรึกษาครอบครัว และนำข้อปฏิบัตินั้นไปใช้จริง
1978 จัดตั้งห้องพักอาศัยกึ่งอิสระ “หอพักวะคะทะเคะ” เป็นการยอมรับความสามารถในการพึ่งพาตนเองเพื่อต่อยอดสู่การกลับคืนสู่สังคม
1989 Showa 64 / The first year of Heisei
1991 จัด “งานสินค้าราชทัณฑ์” ครั้งที่ 1 และจัดต่อเนื่องเป็นประจำต่อมา
1995 เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ภูมิภาคฮันชินอาวาจิ
1996 จัดตั้ง “คณะกรรมการตรวจสอบเพื่ออนุรักษ์สถานพินิจฯเยาวชนนารา”
ขยายพื้นที่ใช้งานไปด้านทิศตะวันตกภายในบริเวณทั้งหมด
1997 มีจำนวนผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเกิน 80 ราย
1998 นางาโนะโอลิมปิก
"เพิ่มจำนวนผู้กระทำผิดที่สามารถรองรับได้เป็นมากที่สุด 685 ราย
ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 7"
1999 ไฟไหม้ลานฝึกภาคปฏิบัติลานตีนุ่นทั้งหมด
2000 ปรับปรุงกฎหมายเยาวชน
2002 ก่อตั้ง “กรรมการตรวจสอบเพื่ออนุรักษ์สถานพินิจฯเยาวชนนาราใหม่และพิจารณาวิธีอนุรักษ์”
2005 นิทรรศการนานาชาติไอจิ (ไอจิเวิล์ดเอ็กซ์โป)
2006 ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับทัณฑสถานและการจัดการนักโทษ ฯลฯ
เริ่มระบบให้ความช่วยเหลือในเรื่องหางาน
เริ่มการอบรมแนะแนวผู้กระทำความผิดทางเพศเพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก
จัดงานเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเผยแพร่การอบรมแนะแนวผู้กระทำความผิดทางเพศเพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก (ครั้งแรกในญี่ปุ่น)
2007 ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับปริมาณรองรับของทัณฑสถานและการจัดการนักโทษที่ถูกคุมขัง ฯลฯ
"เริ่มโปรแกรมอบรบทักษะในการเข้าสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป (วิชาบทกลอน)
ขยายสาขาของหลักสูตรอบรมอาชีพเป็น 16 หลักสูตร"
2008 ปรับปรุงกฎหมายเยาวชน
2008 ครบรอบก่อตั้ง “สถานพินิจและคุ้มครองเยาวชนนารา” 100 ปี
2011 เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ภูมิภาคโทโฮกุ
2013 ได้รับความเสียหายจากฝนตกหนักในจุดต่างๆ เช่น เพดานหลุดหล่น เป็นต้น
2016 ยกเลิก “สมาคมผู้ปกครอง” เนื่องจากการปิดตัวลงของสถานพินิจฯ
2017 ได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น
สถานพินิจฯปิดตัวลง
   
   
2019 กำหนดเปิดให้บริการหอเอกสาร
2020 โตเกียวโอลิมปิก
2021 กำหนดเปิดให้บริการโรงแรม