ตามรอยเรือนจำเก่านาราตามลำดับปี
1613 | "ที่ว่าการบุเกียวโฉะนารา (นันโตโจบุเกียว) ก่อตั้งในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสตรีนาราในปัจจุบัน บริเวณที่คุมขังนักโทษตั้งอยู่ที่คิตะอุโอะยะนิชิมะจิและฮะนะชิบะโจทางทิศเหนือของที่ว่าการ" |
|
1853 | เรือรบของนายพลเพอร์รี่เดินทางมาถึงญี่ปุ่น | |
1854 | ญี่ปุ่นและอเมริกาลงนามสนธิสัญญามิตรภาพ สิ้นสุดการปิดประเทศ ญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่สังคมโลก |
|
1858 | ญี่ปุ่นและอเมริกาลงนามสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (สนธิสัญญาสงบศึก 5 ประเทศ) เป็นสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เช่น ญี่ปุ่นต้องยอมรับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของอเมริกา อีกทั้งยังไม่มีสิทธิในการกำหนดภาษีศุลกากรอีกด้วย |
|
1867 | คืนอำนาจการปกครองประเทศคืนแก่จักรพรรดิ รัฐบาลบากุฟุล่มสลาย | |
นายยะมะชิตะ เคจิโร่ เกิด |
1868 | รัฐบาลเมจิเริ่มบริหารประเทศ | |
1869 | ย้ายเมืองหลวงมาโตเกียว | |
1870 | ประกาศใช้กฎหมายอาญาชินริทสึโคเรียวแทนกฎหมายอาญาฉบับทดลอง | |
1871 | สถาปนากระทรวงตุลาการ | |
ย้ายส่วนหนึ่งของอาคารที่คุมขังของที่ว่าการบุเกียวโฉะนาราไปสร้างใหม่ ปัจจุบันได้รับการบันทึกให้เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางตุลาการของประเทศ |
||
“สำนักงานเรือนจำนารา” ตั้งขึ้นที่เมืองนาราย่านนิชิซะซะโบะโจ | ||
1872 | ประกาศพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขัง | |
1875 | เริ่มกระบวนการปรับแก้กฎหมายอาญาเก่า เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบกฎหมายให้เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ | |
1880 | สวนสาธารณะนาราที่โด่งดังเรื่องกวางเปิดให้บริการ | |
1881 | เปลี่ยนชื่อ “สำนักงานเรือนจำนารา” เป็น “สำนักงานย่อยเรือนจำนารา” | |
1882 | ประกาศใช้กฎหมายอาญาฉบับเก่าทั่วไปแทนกฎหมายอาญาชินริทสึโคเรียว | |
1885 | ยกเลิกระบบสภาอำมาตย์ สถาปนาระบบคณะรัฐมนตรี | |
1887 | นายมิยะจิ เรียวอิจิ เข้ารับตำแหน่งเท็งโกะคุ (หัวหน้าเรือนจำ) รุ่นแรก (ถึงปีเมจิที่ 26) | |
1889 | ประกาศใช้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิญี่ปุ่น | |
1894 | "สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ปะทุขึ้น ฟื้นฟูสิทธิสภาพนอกอาณาเขต" |
|
1895 | สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง | |
1896 | จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นเป็นครั้งแรก (กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ) | |
1900 | ก่อตั้งกรมราชทัณฑ์ | |
1901 | แผนพัฒนาปรับปรุงเรือนจำช่วงที่ 1 ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เริ่มก่อสร้าง “เรือนจำนารา” บนพื้นที่ปัจจุบัน นายยะมะชิตะ เคจิโร่ได้รับคำสั่งให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานเรือนจำ |
|
1904 | สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นปะทุขึ้น | |
1905 | สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นสิ้นสุดลง | |
1908 | ประกาศใช้กฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันแทนกฎหมายอาญาฉบับเก่า ประกาศใช้กฎหมายราชฑัณฑ์ |
|
1908 | “เรือนจำนารา” ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ (ย่านฮันเนียจิโจ) | |
1909 | “เรือนจำนารา” เริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่อาคารใหม่ | |
1910 | ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีจำนวนนักโทษมากถึง 935 รายแม้จำนวนที่นักโทษที่สามารถรองรับได้ (ในขณะนั้น) จะเพียง 650 ราย แบบจำลองเรือนจำนาราได้รับเลือกให้ไปแสดงในนิทรรศการนานาชาติญี่ปุ่น-อังกฤษ เพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคสมัยใหม่ของเรือนจำญี่ปุ่นสู่สายตาผู้คนทั้งในและนอกประเทศ |
1912 | Meiji 44 / The first year of Taisho | |
ก่อสร้าง “อาคารโรงงาน” และ “โรงครัว” เพิ่มเติม | ||
1914 | สงครามโลกครั้งที่ 1 ปะทุขึ้น | |
1918 | สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง | |
ก่อสร้าง “อาคารโรงงาน 2” และ “ศูนย์การเรียนรู้” เพิ่มเติม | ||
1922 | ประกาศใช้กฎหมายเยาวชน | |
1922 | เปลี่ยนชื่อ “เรือนจำนารา” เป็น “ทัณฑสถานนารา” | |
1923 | เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ภูมิภาคคันโต | |
สร้าง “โกดัง” เพิ่มเติม |
1926 | Taisho 15 / The first year of Showa | |
1931 | เกิดข้อพิพาทกรณีมุกเดน | |
นายยะมะชิตะ เคจิโร่ เสียชีวิต | ||
1934 | "ก่อสร้าง “ห้องสัมภาษณ์” (ห้องเยี่ยม) เพิ่มเติม เรือนจำได้รับความเสียหายครั้งใหญ่จากพายุไต้ฝุ่นเวร่า สถานที่ต่างๆ เช่น ลานแสดงดนตรี ได้รับความเสียหายพังถล่ม" |
|
1936 | กบฏ 26 กุมภาฯ | |
ก่อสร้าง “ลานแสดงดนตรี” ขึ้นใหม่ | ||
1941 | สงครามโลกครั้งที่ 2 เปิดฉาก | |
1945 | สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง | |
1946 | ประกาศใช้รัฐธรรมนูญญี่ปุ่น | |
1946 | เปลี่ยนชื่อ “ทัณฑสถานนารา” เป็น “สถานพินิจและคุ้มครองเยาวชนนารา” | |
1948 | ประกาศใช้กฎหมายเยาวชนฉบับใหม่ | |
1949 | ประกาศใช้กฎหมายสร้างชีวิตใหม่ให้นักโทษและป้องกันการก่ออาชญากรรมซ้ำ | |
"เริ่มจัดการศึกษาภาคค่ำ เริ่มจัดการศึกษาทางไกลเพื่อเรียนรู้สังคม" |
||
1951 | ก่อตั้ง “ชมรมวงโยธวาทิต” เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้น “การบำบัดอย่างปลดปล่อย” ซึ่งเป็นรากฐานที่ทำให้ผู้กระทำผิดมีความเชื่อมั่นต่อจิตวิญญาณในการพึ่งพาตนเองและความรับผิดชอบ | |
1954 | เริ่มหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายทางไกลโดยโรงเรียนมัธยมปลายนาราประจำจังหวัดนารา (ปัจจุบัน : หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายทางไกลโดยโรงเรียนมัธยมปลายยะมะโตะจูโอประจำจังหวัดนารา) เริ่มกิจการ “ศูนย์อบรมช่างตัดแต่งทรงผมวะคะคุตสะ” และหลักสูตรอบรมอาชีพ (แผนกศึกษาการตัดแต่งทรงผม) |
|
1960 | เริ่ม “สมาคมผู้ปกครอง” มีผู้ปกครองเข้าร่วม 1998 รายต่อจำนวนผู้กระทำผิด 682 รายในขณะนั้น | |
1964 | โตเกียวโอลิมปิก | |
1964 | ได้รับเลือกให้เป็นหน่วยงานฝึกอบรมอาชีพทั่วไป | |
1965 | ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 24 | |
1970 | นิทรรศการนานาชาติโอซาก้า (โอซาก้าเวิล์ดเอ็กซ์โป) | |
1972 | ซัปโปโรโอลิมปิก | |
1976 | ถ่ายทำภาพยนตร์โปรโมท “หนทางสู่ชีวิตใหม่” (จิตใจของผู้กระทำผิดเยาวชน) เสร็จสมบูรณ์ | |
1977 | กำหนดข้อควรปฏิบัติบริการรับฟังและให้คำปรึกษาครอบครัว และนำข้อปฏิบัตินั้นไปใช้จริง | |
1978 | จัดตั้งห้องพักอาศัยกึ่งอิสระ “หอพักวะคะทะเคะ” เป็นการยอมรับความสามารถในการพึ่งพาตนเองเพื่อต่อยอดสู่การกลับคืนสู่สังคม |
1989 | Showa 64 / The first year of Heisei | |
1991 | จัด “งานสินค้าราชทัณฑ์” ครั้งที่ 1 และจัดต่อเนื่องเป็นประจำต่อมา | |
1995 | เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ภูมิภาคฮันชินอาวาจิ | |
1996 | จัดตั้ง “คณะกรรมการตรวจสอบเพื่ออนุรักษ์สถานพินิจฯเยาวชนนารา” ขยายพื้นที่ใช้งานไปด้านทิศตะวันตกภายในบริเวณทั้งหมด |
|
1997 | มีจำนวนผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเกิน 80 ราย | |
1998 | นางาโนะโอลิมปิก | |
"เพิ่มจำนวนผู้กระทำผิดที่สามารถรองรับได้เป็นมากที่สุด 685 ราย ได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 7" |
||
1999 | ไฟไหม้ลานฝึกภาคปฏิบัติลานตีนุ่นทั้งหมด | |
2000 | ปรับปรุงกฎหมายเยาวชน | |
2002 | ก่อตั้ง “กรรมการตรวจสอบเพื่ออนุรักษ์สถานพินิจฯเยาวชนนาราใหม่และพิจารณาวิธีอนุรักษ์” | |
2005 | นิทรรศการนานาชาติไอจิ (ไอจิเวิล์ดเอ็กซ์โป) | |
2006 | ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับทัณฑสถานและการจัดการนักโทษ ฯลฯ | |
เริ่มระบบให้ความช่วยเหลือในเรื่องหางาน เริ่มการอบรมแนะแนวผู้กระทำความผิดทางเพศเพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก จัดงานเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเผยแพร่การอบรมแนะแนวผู้กระทำความผิดทางเพศเพื่อป้องกันไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก (ครั้งแรกในญี่ปุ่น) |
||
2007 | ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับปริมาณรองรับของทัณฑสถานและการจัดการนักโทษที่ถูกคุมขัง ฯลฯ | |
"เริ่มโปรแกรมอบรบทักษะในการเข้าสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป (วิชาบทกลอน) ขยายสาขาของหลักสูตรอบรมอาชีพเป็น 16 หลักสูตร" |
||
2008 | ปรับปรุงกฎหมายเยาวชน | |
2008 | ครบรอบก่อตั้ง “สถานพินิจและคุ้มครองเยาวชนนารา” 100 ปี | |
2011 | เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ภูมิภาคโทโฮกุ | |
2013 | ได้รับความเสียหายจากฝนตกหนักในจุดต่างๆ เช่น เพดานหลุดหล่น เป็นต้น | |
2016 | ยกเลิก “สมาคมผู้ปกครอง” เนื่องจากการปิดตัวลงของสถานพินิจฯ | |
2017 | ได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น สถานพินิจฯปิดตัวลง |
|
2019 | กำหนดเปิดให้บริการหอเอกสาร | |
2020 | โตเกียวโอลิมปิก | |
2021 | กำหนดเปิดให้บริการโรงแรม |
สีแดง : เหตุการณ์ของเรือนจำเก่านารา